กิจกรรม 8-12 พ.ย.53 คะแนน 59 คะแนน การบ้าน 40 คะแนน ส่่งงานได้ถึง 28 พฤศจิกายน 2553





สืบค้นข้อมูล - แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการที่โลกเคลื่อนไหวผิดปกติในทันทีทันใด ซึ่งมีทั้งการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยที่ทำให้พื้นดินสั่นไหวพอรู้สึกได้ จนถึงการเคลื่อนที่อย่างรุนแรงที่ทำให้เกิดอันตรายต่อบ้านเรือนและชีวิตของมนุษย์ จากข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละปีพบว่า ในปีหนึ่งๆ มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั่วโลกเฉลี่ยถึง 150,000 ครั้ง หรือวันละ 400 ครั้ง
1. สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว การเกิดแผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกซึ่งประกอบด้วย ชั้นดินและหิน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวชั้นดินและหินจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพภูมิศาสตร์ของเปลือกโลกได้
โดยปกติเมื่อมีแรงมากด ดัน หรือดึงวัตถุใดๆ วัตถุจะพยายามต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยสะสมพลังงานในรูปของพลังงานศักย์ จนกระทั่งแรงที่มากระทำมีขนาดมากกว่าที่วัตถุจะต้านไว้ได้ วัตถุนั้นจะเปลี่ยนแปลง รูปร่าง การเกิดแผ่นดินไหวก็เช่นกัน เมื่อมีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกตามแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่แตกหักหรือเลื่อนตัว จนเกิดการถ่ายโอนพลังงานศักย์อย่างรวดเร็วให้กับชั้นหินที่อยู่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งจะแผ่กระจายจากจุดกำเนิดไปทุกทิศทุกทาง และสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างๆ ภายในโลกขึ้นมาบนผิวโลกได้ ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดิน หรือเกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) ซึ่งอาจเกิดได้หลายๆ จุดในพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ใต้เปลือกโลกที่ระดับความลึกต่างๆ กัน
ที่มา - http://www.maceducation.com/e-knowledge/2502201100/03.htm




สืบค้นข้อมูล - เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบันพบว่า ทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน แต่เมื่อนำแผ่นภาพของแต่ละทวีป มาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี เช่น ขอบตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้สามารถต่อกับขอบตะวันตก ของทวีปแอฟริกาใต้ได้อย่างพอดี เสมือนหนึ่งว่าทวีปทั้งสองน่าจะเป็นแผ่นดินเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันออก อีกส่วนหนึ่งเคลื่อนไปทางตะวันตก และมีมหาสมุทร แอตแลนติกเข้ามาแทนที่ตรงรอยแยก แผ่นทวีปทั้งสองมีการเคลื่อนแยกจากกันเรื่อยๆ จนมีตำแหน่งและรูปร่างดังปัจจุบัน
ที่มา - http://www.krugoo.net/archives/390



สืบค้นข้อมูล - รอยเลื่อนในประเทศไทย

จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้
ที่มา - http://www.naturalsoft.com/faults.html



สืบค้นข้อมูล - ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน
ที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87



สืบค้นข้อมูล - ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C




สืบค้นข้อมูล - ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C



สืบค้นข้อมูล - สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง[1] โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้นที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2




สืบค้นข้อมูล - ในปี ค.ศ. 2005  มนุษย์เราก็จะมีสิ่ง ก่อสร้างขนาดมหึมาในอวกาศ ใหญ่จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากโลก สิ่งนั้นก็คือ
สถานีอวกาศ (Space Station) อันเป็นผลงาน ร่วมกันของนานาชาติถึง 16 ชาติ ความสำเร็จของงานชิ้นนี้ จะนำประโยชน์ มาสู่มวลมนุษย์อย่างมหาศาล
ที่มา http://www.everykid.com/worldnews2/spacestation/index.html




สืบค้นข้อมูล - กระสวยอวกาศ (อังกฤษ: space shuttle) คือ เครื่องบินอวกาศ ทะยานขึ้นเหมือนจรวดและไปโคจรรอบโลก มีปีกและตอนกลับสู่โลกจะร่อนลงตามรันเวย์ กระสวยอวกาศสามารถนำมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง
กระสวยอวกาศของสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นโดยองค์การนาซ่า (NASA) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Space Transportation System (STS) ผลิตโดยบริษัท North American Aviation ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Rockwell International.
สำหรับกระสวยอวกาศของสหภาพโซเวียต มีชื่อว่า บูราน (Buran - Бура́н แปลว่า พายุหิมะ) ปัจจุบันล้มเลิกโครงการไปแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ในสมัยประธานาธิบดีโบริส เยลท์ซิน เนื่องจากมีต้นทุนสูง และประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หลังจากปฏิบัติการเพียงหนึ่งครั้ง ใช้เวลาในอวกาศเพียง 3 ชั่วโมง
กระสวยอวกาศถูกออกแบบมาให้ใช้งานซ้ำได้ 100 ครั้ง หรือปฏิบัติการได้ 10 ปี โครงการถูกเริ่มขึ้นในท้ายยุค 60 หลังจากนั้นก็มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการที่ต้องใช้คนเข้าร่วมของนาซามาโดยตลอด
ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้นเชื้อเพลิงเหล่านี้จะถูกสูบเข้าไปยังเครื่องยนต์หลัก 3 เครื่อง ของออร์บิเตอร์
นอกจากนี้ยังมีแทงค์ขนาดเล็กที่อยู่ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์บนฐานส่งเพื่อให้แรงผลักดันพิเศษในขณะส่งกระสวยขึ้น ซึ่งเรียกว่า Solid Fuel Rocket Booster หรือ SRB ทำงานคล้ายกับจรวดดอกไม้ไฟขนาดใหญ่
เมื่อกระสวยอวกาศทะยานขึ้น หลังจากนั้นประมาณ 2 นาที เชื้อเพลิงในแทงค์เชื้อเพลิง SRB ก็หมด และตกลงในทะเลกับร่มชูชีพ อัตราความเร็วของกระสวยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงความเร็วประมาณ 72 ไมล์ จากนั้นเครื่องยนต์หลักก็หยุด และถังเชื้อเพลิงภายนอกซึ่งว่างเปล่าก็ตกลงทะเลเครื่องยนต์ของจรวดสองลำก็รับภาระต่อไป ซึ่งเรียกว่า ระบบการยักย้ายการโคจร ในระหว่างการโคจร
เมื่อถึงเวลากลับสู่โลก เครื่องยนต์ระบบการยักย้ายการโคจรจะถูกยิงคล้ายกับตอนล่างของจรวด และมันก็จะออกจากการโคจรของมัน จะกลับลงมาสู่บรรยากาศโลกในอัตราความเร็ว 15,900 ไมล์ต่อชั่วโมง (หรือประมาณ 25,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แผ่นกำบังความร้อนข้างใต้กระสวยอวกาศจะเปล่งแสงสีแดงจัดพร้อมกับความร้อนในการกลับเข้ามาสู่โลก แผ่นกระเบื้องพิเศษบนกระสวยอวกาศจะป้องกันลูกเรือและยานอวกาศออร์บิเตอร์จะช้าลงเมื่อเข้ามาถึงบริเวณส่วนล่างของบรรยากาศ จะร่อนลงบนพื้นดินบนรันเวย์ด้วยความเร็วประมาณ 210 ไมล์แล้วหยุดการบินของกระสวยอวกาศก็จบลง
แต่เดิมกระสวยอวกาศถูกสร้างขึ้นมา 4 ลำ คือ แอตแลนติส (Atlantis) , ชาเลนเจอร์ (Challenger) , โคลัมเบีย (Columbia) และดิสคัฟเวรี (Discovery)
วันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1986 กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ประสบอุบัติเหตุขณะบินขึ้น ภายหลังจึงมีการสร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Endeavour) ขึ้นมาทดแทน
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 กระสวยอวกาศโคลัมเบียประสบอุบัติเหตุขณะกลับมายังโลก ปัจจุบันจึงมีกระสวยอวกาศใช้งานอยู่ 3 ลำ คือ แอตแลนติส, เอนเดฟเวอร์ และดิสคัฟเวรี
ที่มา - http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8



โครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ISS = International Space Station
เกิดขึ้นจากความร่วมมือกัน โดยมีอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น รัสเซีย และ
กลุ่มประเทศในยุโรปเกือบทั้งหมด ร่วมในโครงการ ฯ
แล้วต่างก็อาศัยข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์กัน

ในเดือนธันวาคม 1998  สถานีอวกาศระหว่างชาติแห่งนี้ ได้เริ่มลงมือประกอบ 2 ชิ้นส่วนแรก คือ ...
1. ส่วนอาศัย (Living Zone) มนุษย์อวกาศแต่ละคนจะมีเคบินส่วนตัว ซึ่งประกอบด้วย
เก้าอี้ ถุงนอน และช่องกระจกกลม มีส่วนสุขภัณฑ์รวม ซึ่งมีโถอุจจาระ อ่างล้างหน้า
และฝักบัวอาบน้ำ แล้วก็มีส่วนครัว ซึ่งมีโต๊ะกินข้าว อุปกรณ์ทำครัว และที่เก็บขยะ
2. ส่วนปฏิบัติการ (Operation Zone) เป็นที่ตั้งของอุปกรณ์ควบคุมสถานีอวกาศ
ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ ทางวิทยาศาตร์ มนุษย์อวกาศจะมานั่งปฎิบัติการที่นี่
ทุกห้องในแกนกลางนี้จะปูพรม ผนังทาสีสวยงาม เพดานขาว ติดไฟแสงนวล
แม้ว่าที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีส่วนล่างหรือบน เพราะทุกอย่างไร้น้ำหนัก
แต่ก็ต้อง จัดวางไว้ ให้ผู้อาศัยมีความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านบนพื้นโลก
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งกับแกนกลาง อาทิ แผงโซล่าเซลล์
เครื่องตรวจรังสีและคลื่นแม่เหล็กจากดวงดาวต่าง ๆ ห้องกรีนเฮาส์สำหรับปลูกพืช

ซึ่งจะถูกลำเรียงขึ้นไปประกอบเรื่อย ๆ จนเสร็จสมบูรณ์ใน ค.ศ. 2005
จากนั้นทุก ๆ 90 นาที มันก็จะโคจรครบ 1 รอบโลก ที่ความสูง 354 กม.
สถานีอวกาศนานาชาติแห่งนี้จะใสสว่างบนท้องฟ้า เป็นอันดับ 3 รองจาก ดวงจันทร์ และดาวศุกร์
คล้ายมังกรยักษ์สีขาวที่พุ่งผ่านไปในอวกาศ โดยมีแผงเซลล์สุริยะใหญ่เกือบ 2 ไร่ครึ่ง
เป็นประหนึ่งปีกทั้งสอง รายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆคือ...
- ความกว้าง (รวมปีก) 108.5 เมตร ความยาว 88.4 เมตร
- ใช้ค่าก่อสร้างประมาณ สามหมื่นหกพันล้านดอลล่าร์
- ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ 52 เครื่อง
- ใช้เจ้าหน้าที่ประจำ 7 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทุก 3-6 เดือน
ประโยชน์ที่สำคัญยิ่ง ของการสร้างสถานีอวกาศนี้ก็คือ การได้เรียนรู้ว่า
คุณภาพชีวิตของมนุษย์จะพัฒนาปรับปรุงได้มากเท่าใด
เมื่อมาอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักนี้ เช่นว่า
  • เราอาจผลิตยาใหม่ ๆ ที่ไม่อาจปรุงได้บนพื้นโลก
    อันเนื่องจากโมเลกุลของตัวยา ไม่สามารถบดละเอียดได้ด้วย
    แรงโน้มถ่วงโลก
  • การรักษาโรคกระดูกและเบาหวานจะได้ผลดี
    เพราะในอวกาศ เราจะปราศจากน้ำหนักตัว
  • การทดลองรักษาโรคมะเร็ง โดยลดความเสี่ยงได้จากเนื้อเยื่อ
    ที่สร้างขึ้นในอวกาศ รวมทั้งการทดลองรักษา
    และค้นคว้าวัคซีน สำหรับโรคเอดส์ด้วย
  • การผลิตฟิล์มบริสุทธิ์สูง สำหรับใช้กับอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์
    จะได้คุณภาพดีกว่าผลิตบนพื้นโลกถึง 100 เท่า
  • สามารถทำนายภูมิอากาศได้แม่นยำ ช่วยนการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติ

สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย ดวงอาทิตย์จัดอยู่ในสเปกตรัม G2V ซึ่ง G2 หมายความว่าดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮ) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ส่วน V (เลข 5) บ่งบอกว่าดวงอาทิตย์อยู่ในลำดับหลัก ผลิตพลังงานโดยการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม และอยู่ในสภาพสมดุล ไม่ยุบตัวหรือขยายตัว
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400 ปี[4]
ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้
ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง[1] ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์[2] จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า[3]
ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้[4] ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้
  1. รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  2. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
  3. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  4. รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  5. รอยเลื่อนหนองเขียว พาดผ่านอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในแนว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  6. รอยเลื่อนเชียงดาว พาดผ่านอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  7. รอยเลื่อนเมืองแหง พาดผ่านอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  8. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
  9. รอยเลื่อนขุนยวม พาดผ่านอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  10. รอยเลื่อนแม่ลาน้อย พาดผ่านอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร
  11. รอยเลื่อนแม่ลาหลวง พาดผ่านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวาร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  12. รอยเลื่อนแม่สะเรียง พาดผ่านอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
  13. รอยเลื่อนพร้าว พาดผ่านอำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาว ประมาณ 23 กิโลเมตร
  14. รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  15. รอยเลื่อนวังเหนือ พาดผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  16. รอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหมในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  17. รอยเลื่อนดอยปุย พาดผ่านอำเภอแม่ริม และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  18. รอยเลื่อนแม่ไผ่ พาดผ่านอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  19. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  20. รอยเลื่อนจอมทอง พาดผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศเหนือ-ใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  21. รอยเลื่อนฮอด พาดผ่านอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกัน มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  22. รอยเลื่อนอมก๋อย พาดผ่านอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกันมีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  23. รอยเลื่อนเมืองปาน พาดผ่านอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร
  24. รอยเลื่อนแม่หยวก พาดผ่านอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  25. รอยเลื่อนแม่ทะ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  26. รอยเลื่อนกิ่วลม พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  27. รอยเลื่อนแม่วัง พาดผ่านอำเภอเกาะคา และอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนกิ่วลม มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  28. รอยเลื่อนแม่อ่าง พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่วัง มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  29. รอยเลื่อนท่าสี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่อ่าง มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  30. รอยเลื่อนงาว พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  31. รอยเลื่อนแม่ติป พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนล่าง กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  32. รอยเลื่อนดอยหลวง พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางตะวันออก มีความยาวประมาณ 41 กิโลเมตร
  33. รอยเลื่อนวังชิ้น พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
  34. รอยเลื่อนสามเงา พาดผ่านอำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตากในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
  35. รอยเลื่อนผาแดง พาดผ่านอำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  36. รอยเลื่อนลานสาง-วังเจ้า พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  37. รอยเลื่อนอุทัยธานี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมือง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 178 กิโลเมตร
  38. รอยเลื่อนแม่กลอง พาดผ่านอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 69 กิโลเมตร
  39. รอยเลื่อนแม่ปิง พาดผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 161 กิโลเมตร
  40. รอยเลื่อนกระเพรียวแดง พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  41. รอยเลื่อนเขาราวเทียน พาดผ่านอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคด และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 94 กิโลเมตร
  42. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  43. รอยเลื่อนแม่ยม พาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  44. รอยเลื่อนแพร่ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  45. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  46. รอยเลื่อนน้ำปาด พาดผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร
  47. รอยเลื่อนเขาดำ พาดผ่านอำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนน้ำปาด มีความยาวประมาณ 126 กิโลเมตร
  48. รอยเลื่อนน้ำภาค พาดผ่านอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  49. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
  50. รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร  ฯลฯ



รูปแสดงการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหวเริ่มต้นที่ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

ซึ่งหินมีการเคลื่อนที่ตามแนวรอยเลื่อนอย่างฉับพลัน

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวที่ลึกที่สุดเท่าที่วัดได้อยู่ที่ระดับ 696 กิโลเมตรใต้พื้นโลก ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter) แผ่นดินไหวนอกจากจะเกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกแล้ว ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีก ทั้งจากธรรมชาติเองและอาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่
1) การระเบิดของภูเขาไฟ
2) การยุบตัวของโพรงใต้ดินขนาดใหญ่
3) แผ่นดินถล่ม
4) อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงบนพื้นโลก
5) การทดลองระเบิดปรมาณูใต้ดิน
6) การระเบิดพื้นที่เพื่อสำรวจลักษณะของหิน สำหรับวางแผนก่อสร้างอาคารและเขื่อนขนาดใหญ่
7) การทำเหมือง
8) การทำงานของเครื่องจักรกล
9) การจราจร
2. คลื่นไหวสะเทือน เมื่อเกิดแผ่นดินไหว พลังงานที่ถูกปลดปล่อยจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน ซึ่งมี 2 ชนิด คือ คลื่นในตัวกลางและคลื่นพื้นผิว
2.1 คลื่นในตัวกลาง (body wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนแผ่กระจายเป็นวงรอบๆ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และเดินทางอยู่ในตัวกลางที่มีเนื้อชนิดเดียวกันตลอด คลื่นในตัวกลางแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ คลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทุติยภูมิ


รูปแสดงคลื่นในตัวกลาง
1) คลื่นปฐมภูมิ (primary wave หรือ P wave) เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 427 กิโลเมตร/วินาที เป็นคลื่นตามยาว เมื่อเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางซึ่งเป็นชั้นหิน จะทำให้หินถูกอัดและขยายสลับกันไปในทิศทางเดียวกับทิศทางของคลื่น คลื่นปฐมภูมิสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีสถานะเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
2) คลื่นทุติยภูมิ (secondary wave หรือ S wave) เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 225 กิโลเมตร/วินาที เป็นคลื่นตามขวาง เมื่อเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินทำให้ชั้นหินสั่นในทิศทางที่ตั้งฉากกับแนวทางการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นทุติยภูมิสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลวได้
2.2 คลื่นพื้นผิว (surface wave) เป็นคลื่นที่เคลื่อนแผ่กระจายออกไปจากจุดเหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว เคลื่อนที่ผ่านไปตามแนวพื้นผิวโลก และเคลื่อนที่ผ่านระหว่างตัวกลางที่ต่างกัน คลื่นพื้นผิวเป็น ผลรวมของคลื่นที่เกิดจากการสั่นสะเทือน 2 ชนิด คือ
1) คลื่นตามขวาง (love wave หรือ L wave) เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกในแนวขวางคล้ายกับการเลื้อยของงู จึงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลว เช่น ทะเลสาบ มหาสมุทร เป็นต้น แต่สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็งได้ เช่น หิน ดิน เป็นต้น
2) คลื่นพื้นผิว (ray leigh wave หรือ R wave) ที่คล้ายกับคลื่นน้ำ ทำให้พื้นผิวเคลื่อนที่ขึ้นลงคล้ายกับน้ำในมหาสมุทร ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง พื้นผิวโลกจะเคลื่อนที่ทั้งแบบขึ้นลง และขยับตัวในแนวขวางไปพร้อมๆ กัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อรากฐานอาคาร ระบบท่อระบายน้ำและสิ่งปฏิกูล รวมทั้งท่อสายไฟ สายโทรศัพท์ และท่อต่างๆ ใต้ดินได้รับความเสียหาย
โดยทั่วไปคลื่นไหวสะเทือนจะมีอัตราเร็วและความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางแต่ละชนิดได้แตกต่างกัน ขึ้นกับความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของวัสดุตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน ดังนั้นถ้ามีข้อมูล ดังกล่าวเราสามารถรู้ถึงองค์ประกอบและลักษณะทางกายภาพของส่วนที่ลึกลงไปในโลกได้
คลื่นปฐมภูมิหรือคลื่น P wave สามารถเคลื่อนที่ผ่านหินเปลือกโลกที่แข็งและหนาแน่นด้วยอัตราที่ เร็วกว่า เมื่อเคลื่อนผ่านชั้นหินที่แข็งน้อยกว่าหรือชั้นที่เป็นของเหลว ส่วนคลื่นทุติยภูมิหรือคลื่น S wave ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านของเหลวได้เลย จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ในบริเวณตอนล่างของชั้นเนื้อโลก และแก่นโลกชั้นนอกซึ่งอยู่ลึกมากกว่า 2,900 กิโลเมตร ยังมีลักษณะเป็นของเหลวหนืด


รูปแสดงการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน
จากรูปแสดงการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน ถ้าภายในโลกมีความเป็นเนื้อเดียวกันตลอด คลื่นไหวสะเทือนที่ส่งผ่านโลกจะมีความเร็วคงที่และเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านตลอด แต่ยิ่งลึกลงไปโลกจะถูกกดทับด้วยแรงดันสูงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ คลื่นไหวสะเทือนจึงเดินทางผ่านด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นทีละน้อยตามการเพิ่มของแรงดัน เส้นทางเดินของคลื่นจึงเบี่ยงเบนเล็กน้อยและทะลุผ่านวัสดุอย่างต่อเนื่อง แต่จากการวัดสัญญาณ คลื่นในตัวกลางพบว่า บางตำแหน่งในโลกมีการขาดหายไปของสัญญาณคลื่น เนื่องจากคลื่น P wave และคลื่น S wave ที่เคลื่อนผ่านโลกมีสมบัติต่างกัน คลื่น S wave ไม่สามารถผ่านตัวกลางที่เป็นของเหลว จากการบันทึกคลื่นในตัวกลางที่เกิดขึ้นพบว่า บริเวณที่เป็นแก่นโลกไม่พบคลื่น S wave แสดงว่าแก่นโลกมีสถานะเป็นของเหลว ขณะเดียวกันเมื่อคลื่น P wave ผ่านแก่นโลกในระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร (แก่นโลกชั้นนอก) คลื่น P wave จะมีความเร็วลดลง แสดงว่าแก่นโลกชั้นนอกมีสภาพเป็นของเหลว แต่เมื่อลึกประมาณ 5,000 กิโลเมตรลงไป (แก่นโลกชั้นใน) คลื่น P wave จะมีความเร็วมากขึ้น จึงสรุปว่าแก่นโลกชั้นในมีลักษณะเป็นของแข็ง
3. เครื่องมือตรวจแผ่นดินไหว เครื่องมือที่ใช้บันทึกข้อมูลแผ่นดินไหวเรียกว่า ไซสโมกราฟ (seismograph) เครื่องมือนี้ประกอบด้วยเครื่องรับคลื่นไหวสะเทือนและแปลงสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนเป็นสัญญาณ ไฟฟ้า จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะถูกขยายแล้วแปลงกลับเป็นคลื่นไหวสะเทือนอีกครั้งเพื่อบันทึกลงกระดาษเป็นกราฟขึ้นลง


รูปแสดงเครื่องไซสโมกราฟ

เครื่องไซสโมกราฟในรูป เป็นเครื่องมือที่บันทึกการเคลื่อนไหวของแผ่นดินในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว โดยอาศัยการทำงานของปากกาที่ลากเส้นลงบนกระดาษกราฟที่หุ้มอยู่บนกระบอกที่หมุนได้ ในช่วงที่พื้นดินไม่มีการสั่นไหว ปากกาจะลากเส้นตรง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวกระบอกจะสั่นไหวเป็น 2 ลักษณะ ตามการขึ้นลงของ แผ่นดิน ถ้าแผ่นดินเคลื่อนขึ้นจะยกกระบอกขึ้น แต่สปริงจะยึดไว้ทำให้ตุ้มน้ำหนักและปากกาเคลื่อนตัวยากจึงลากเส้นกราฟลงต่ำ แต่ถ้าแผ่นดินเคลื่อนลงลักษณะของตุ้มและปากกาจะมีการหดตัว ปากกาจะลากเส้นสูง แต่ถ้าแผ่นดินไม่มีการสั่นไหวเส้นกราฟจะเป็นเส้นตรง ความสูงของเส้นกราฟจะขึ้นกับความแรงในการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวต่อไปเรื่อยๆ จะได้เส้นกราฟของการเกิดแผ่นดินไหว ดังนี้

จากรูปแสดงคลื่นไหวสะเทือนของแผ่นดินไหวจากเครื่องไซสโมกราฟ คลื่นปฐมภูมิจะเดินทางมาถึงเครื่องบันทึกก่อน ส่วนคลื่นพื้นผิวที่มีความรุนแรงมากที่สุดจะเดินทางมาถึงเครื่องบันทึกหลังสุด ในการบันทึกการเคลื่อนที่ในแนวระดับของพื้นดินด้วยเครื่องไซสโมกราฟจะมีการบันทึกเวลาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทราบเวลาที่คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงสถานีได้ โดยทั่วไปการตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวมีรัศมีการตรวจรับได้ทั่วโลก การคำนวณตำแหน่ง เวลาเกิด และขนาดแผ่นดินไหวจะคำนวณเฉพาะคลื่นซึ่งอยู่ห่างจากสถานีวัดไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร
4. ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวมีความรุนแรงและความถี่แตกต่างกัน ปกติแผ่นดินไหวบนพื้นโลกเกิดขึ้นบ่อยมาก แต่ขนาดและความรุนแรงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับที่คนไม่รู้สึกแต่เครื่องไซสโมกราฟจับได้ จนถึงคนรู้สึกและก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวไม่สามารถบ่งบอกถึงพลังงานที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ เพราะความรุนแรงของแผ่นดินไหวนอกจากจะขึ้นกับพลังงานของแผ่นดินไหวแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นด้วย เช่น ระยะห่างจากจุดเหนือแผ่นดินไหว บริเวณที่เกิดอยู่ส่วนใดของโลก มีโครงสร้างทางธรณีวิทยารองรับหรือไม่ สิ่งก่อสร้างมีการออกแบบเพื่อรองรับการเกิดแผ่นดินไหวอย่างไร ดังนั้นในการบอกว่าแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีพลังงานมากน้อยอย่างไรจึงมักบอกในรูปของขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
4.1 ขนาดของแผ่นดินไหว กำหนดจากปริมาณพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากศูนย์เกิด แผ่นดินไหว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ (Chares F. Richter) เป็นคนแรกที่คิดค้นสูตรการวัดขนาดของแผ่นดินไหว นักวิทยาศาสตร์จึงกำหนดให้หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหวเป็น ริกเตอร์ (richter scale) มีขนาดตั้งแต่ 1.0 (รุนแรงน้อย) ถึง 9.0 (รุนแรงมาก) โดยทั่วไปขนาดของแผ่นดินไหวที่น้อยกว่า 2.0 ริกเตอร์ จัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก ขนาดแผ่นดินไหวตั้งแต่ 6.3 ริกเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นแผ่นดินไหวรุนแรง จากสถิติที่ผ่านมา แผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดคือขนาดประมาณ 8.828.9 ริกเตอร์ ได้แก่ แผ่นดินไหวที่ประเทศ โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2449 และแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2538 มีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 5,000 คน มูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 1.25 ล้านล้านบาท เป็นต้น จากข้อมูลที่ผ่านมา การเกิดแผ่นดินไหวมีตั้งแต่ขนาดที่ไม่ได้สร้างความเสียหายเลย จนถึงขนาดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิศาสตร์ เช่น อาคารบ้านเรือนพังทลาย แผ่นดินแยกถล่ม บางส่วนหายไปกลายเป็นแหล่งน้ำ แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่ เกิดที่ราบสูงหรือภูเขาใหม่ เป็นต้น
4.2 ความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดจากผลกระทบหรือความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดบนผิวโลก ณ จุดสังเกต มาตราวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวกำหนดจากความรู้สึกของอาการตอบสนองของผู้คน การเคลื่อนที่ของเครื่องเรือนและของใช้ภายในบ้าน ตลอดจนความเสียหายของบ้านเรือน จนถึงขั้นที่ทุกสิ่งทุกอย่างพังพินาศ ซึ่งมาตราวัดความรุนแรงนี้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้หลายมาตรา แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือ มาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) ซึ่งแบ่งเป็น 12 ระดับ ดังตาราง
ตารางแสดงขนาด ระดับ และความรุนแรงของแผ่นดินไหว
ขนาด ระดับ ลักษณะความรุนแรง
I คนไม่รู้สึกถึงการสั่นไหว แต่เครื่องมือตรวจจับสัญญาณได้
3.023.9 II รู้สึกได้เฉพาะคนที่อยู่นิ่งๆ หรืออยู่บนอาคารสูงๆ สิ่งของแกว่งไกวช้าๆ เล็กน้อย
III คนในบ้านรู้สึกเล็กน้อยเหมือนรถบรรทุกเล็กแล่นผ่าน และพอจะประมาณความนานของการสั่นไหวได้ แต่คนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้น
IV คนส่วนมากที่อยู่ในบ้านและบางส่วนที่อยู่ข้างนอกรู้สึกเหมือนรถบรรทุกหนักแล่น
4.024.9 ผ่าน รถยนต์ที่จอดอยู่จะโยก ของในบ้านสั่นไหว
V รู้สึกได้เกือบทุกคน ของชิ้นเล็กจะเคลื่อนที่ ลูกตุ้มนาฬิกาอาจหยุด
VI ทุกคนรู้สึกได้ คนที่เดินอยู่จะเอียงเซ เครื่องเรือนหนักอาจเคลื่อนที่ ต้นไม้สั่นไหวชัดเจน เกิดความเสียหายเล็กน้อย
5.025.9 VII ทุกคนวิ่งออกนอกอาคาร ยืนได้ไม่มั่นคง คนขับรถอยู่สามารถรู้สึกการสั่นไหว อาคารมาตรฐานปานกลางเสียหายเล็กน้อย เกิดคลื่นน้ำในบึง
6.026.9 VIII มีผลต่อการบังคับรถ อาคารที่ออกแบบพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารมาตรฐาน
ปานกลางเสียหายชัดเจนและบางส่วนพังทลาย อาคารมาตรฐานต่ำเสียหาย อย่างหนัก สิ่งก่อสร้างทรงสูงส่วนมากพังลง เครื่องเรือนหนักจะหมุนกลับ โคลน ทรายพุ่งขึ้นจากใต้ดินเล็กน้อย มีการเปลี่ยนแปลงในบ่อน้ำ
IX อาคารออกแบบพิเศษเสียหายชัดเจน อาคารมาตรฐานสูงจะเคลื่อนหนีศูนย์ อาคารมาตรฐานปานกลางเสียหายและพังทลาย สิ่งก่อสร้างเคลื่อนจากฐาน แผ่นดินแยก
7.027.9 X อาคารไม้ปลูกสร้างดีบางหลังถูกทำลาย ตึกส่วนใหญ่ถูกทำลายพร้อมฐานราก แผ่นดินแยกถล่มเป็นบริเวณกว้าง รางรถบิดงอ ดินริมตลิ่งและที่ชันจะถล่ม โคลน ทราย
8.028.9 พุ่งขึ้นจากรอยแยกของแผ่นดิน น้ำกระเซ็นขึ้นตลิ่ง
XI อาคารพังทลายเกือบหมด สะพานถูกทำลาย แผ่นดินแยกอย่างชัดเจน รางรถบิดงออย่างมาก ท่อใต้ดินเสียหายไม่สามารถใช้การได้ ดินถล่มและเลื่อนไหล
XII ทุกสิ่งโดยรวมถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่นแนวระดับสายตาบิดเบี้ยวไป วัตถุกระเด็นขึ้นไปในอากาศ
5. ตำแหน่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จากข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแนวการเกิดแผ่นดินไหว บนโลกมักเกิดซ้ำรอยเดิม ซึ่งสามารถนำมากำหนดเป็นแนวการเกิดแผ่นดินไหวได้



รูปแสดงแนวการเกิดแผ่นดินไหวของโลก
นักธรณีวิทยาพบว่า ตำแหน่งศูนย์เกิดแผ่นดินไหวสัมพันธ์กับแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาค แนว รอยต่อเหล่านี้เป็นแนวรอยต่อของแผ่นธรณีภาคที่ยังมีการเคลื่อนที่ทั้งการชนและการมุดกันที่เป็นผลทำให้เกิดแผ่นดินไหว แนวรอยต่อที่สำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมีอยู่ 3 แนว ดังนี้
5.1 แนวรอยต่อที่เกิดล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นบริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งหมดจัดเป็นบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80 ของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ (ring of fire) ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ด้านตะวันตกของเม็กซิโก และด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
5.2 แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรปและภูเขาหิมาลัยในทวีปเอเซีย เป็นแหล่งที่เกิด แผ่นดินไหวประมาณร้อยละ 15 ได้แก่ บริเวณประเทศพม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรป แผ่นดินไหวในบริเวณนี้มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับตื้นและลึกปานกลาง
5.3 แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ ของโลก ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก แนวสันเขาใต้มหาสมุทรอินเดีย และอาร์กติก เป็นแหล่งที่เกิดแผ่นดินไหวร้อยละ 5 ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้อยู่ที่ระดับตื้นและเกิดเป็นแนวแคบๆ
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่ไม่สามารถตรวจสอบล่วงหน้าได้ การเกิดแผ่นดินไหวเกือบทุกครั้งที่ผ่านมามักมีความรุนแรงในระดับที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินไม่มากก็น้อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจะมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคต และคาดหวังว่าในอนาคตมนุษย์สามารถคิดเทคโนโลยีที่จะตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าเพื่อเป็นการเตือนภัยหรือเตรียมการป้องกันได้

1 ความคิดเห็น:

  1. 1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน = 20 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน = 10 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL) = 20 คะแนน
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5
    คะแนนตามความเหมาะสม = 90 คะแนน

    ตอบลบ